รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร






รายละเอียดโครงการ


รหัสโครงการ : 66-5200-2-2-002-00
ชื่อโครงการ : โครงการ FIT Talent Resource Management
ผู้รับผิดชอบ : อาจารย์ ดร.กลไกร นาโควงค์
จำนวนงบประมาณ : 100,000 บาท
ระยะเวลาตามแผน : 1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
วันที่ดำเนินการจริง : 1 มิถุนายน 2566
สถานะการดำเนินงาน :

-ดำเนินการแล้ว-

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด :
รายละเอียดตัวชี้วัด แผน ผล หน่วยวัด สรุปผล
ผลผลิต (Output) : อาจารย์และนักวิจัย ที่มีโอกาสไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการในสถานประกอบการภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ไม่ต่ำกว่า 10 49 คน
ผ่าน
ผลลัพธ์ (Outcome) : มีองค์ความรู้/นวัตรรม/เทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้ 5 5 ประเด็น
ผ่าน
ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการโครงการ
ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนครั้งที่ดำเนินการ 3 5 ครั้ง
ผ่าน
ตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 10 100 คน
ผ่าน
ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 80 85 ร้อยละ
ผ่าน
ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 90 50 ร้อยละ
ไม่ผ่าน
ตัวชี้วัดที่ 5 ค่าใช้จ่ายตลอดโครงการไม่เกิน 100,000 100,000 บาท
ผ่าน
ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณ :

100.00%

ร้อยละความสำเร็จตามตัวชี้วัด :

85.71%   :   ดาวน์โหลด Certificate

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ :
ยุทธศาสตร์หลัก ตัวชี้วัดทั้งหมด Cluster Sub-Cluster
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 บูรณาการความร่วมมือกับพหุภาคี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 1. ระดับผลการดำเนินงานของอาจารย์และนักวิจัยที่ไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการแก่สถานประกอบการในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
(strategy)
2. อาจารย์และนักวิจัย ที่มีโอกาสไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการในสถานประกอบการภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ไม่ต่ำกว่า
(สำคัญ)
3. มีองค์ความรู้/นวัตรรม/เทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้
(สำคัญ)
Food and Health อาหาร
อธิบายผลการดำเนินงาน : โครงการ FIT Talent Resource Management ประจำปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ได้มีโอกาสถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาสถานประกอบการในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ได้เริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ภายใต้โครงการนี้ประกอบด้วยองค์ความรู้/นวัตรรม/เทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้ 5 ประเด็น ได้แก่ โครงการระบบควบคุมและปรับค่า PH ของน้ำให้มีค่าเป็นกลางผ่านระบบ IOT เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอธิพงศ์ฟาร์ม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร, โครงการการปรับปรุงกระบวนการลดความชื้นของกกสำหรับใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จากกก เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพพันนาสามัคคี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร, โครงการการฝึกอบรมมัดย้อมผ้าครามและออกแบบลายผ้าครามร่วมสมัยของวิสาหกิจชุมชนผ้าพื้นเมืองบ้านสร้างขุ่ย อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร, โครงการ การจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากน้ำครามด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัท ครามภูสะไน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และโครงการการประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบรรจุนม ยู เอช ที สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ซึ่งแต่ละโครงการได้ดำเนินการ 3 ครั้ง ได้แก่ 1. ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในสถาน 2. เลือกปัญหาและจัดทำแผนพัฒนาสถานประกอบการ 3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาสถานประกอบการ โดยแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย อาจารย์ นักศึกษา และสมาชิกของผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 20 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น มากกว่า 100 คน ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้/นวัตรรม ไปต่อยอดองค์ความรู้ เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 85 และโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ปัญหาอุปสรรค :
ข้อเสนอแนะ :
ภาพจดหมายข่าว :


(...........................................................)
อาจารย์ ดร.กลไกร นาโควงค์
ผู้รับผิดชอบโครงการ



ข้อมูล ณ 26 พฤศจิกายน 2567
แผนกงานแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร