แนะนำเครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

ข้อแนะนำในการใช้งาน

  • การเข้าใช้งานระบบสามารถใช้บัญชีผู้ใช้งานเดียวกับบัญชีอินเตอร์เน็ตมหาวิทยาลัย @rmuti.ac.th ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
  • หากอาจารย์ผู้สอนต้องการใช้เครื่องมือช่วยสอนในรูปแบบ video conference อาจารย์สามารถใช้ Microsoft Teams ในการจัดห้องเรียน ตารางนัดหมาย และบันทึกการสอนได้ และสามารถแนบไฟล์งาน การบ้าน และโต้ตอบระหว่างเรียนได้
  • กรณียังไม่มีบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต สามารถสมัครเพื่อขอใช้บริการได้ที่ http://www.rmuti.ac.th/network/services

1. ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ RMUTI – LMS (Moodle)

คุณสมบัติของ ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ RMUTI LMS (Moodle)

  • ระบบจัดการผู้ใช้คือการจัดการด้านข้อมูลของผู้ใช้งานโดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือผู้ดูแลระบบ ผู้สอนผู้เรียนซึ่งสามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละคนในการใช้งาน การจัดกลุ่มการเรียนของผู้เรียน บันทึกข้อมูลของผู้เรียนวันเวลา จำนวนครั้งในการใช้งานกิจกรรมที่ผู้เรียนทำในแต่ละครั้งเป็นต้น
  • ระบบจัดการรายวิชาคือการจัดการด้านข้อมูลเนื้อหาของรายวิชาและกิจกรรมในในรายวิชา เช่น การสร้างหน่วยการเรียนของรายวิชา, การสร้างเนื้อหาของหน่วยการเรียน, กำหนดเวลาในการเข้าเรียน,การกำหนดรูปแบบการเรียน, การเพิ่มกิจกรรมในการเรียนการสอน, การสั่งงาน (การบ้าน) และการส่งงาน, การวัดและประเมินผล(ทำแบบทดสอบในรายวิชา), การสร้างข้อสอบซึ่งสามารถได้ถึง 9 รูปแบบ ได้แก่ คำถามปรนัย, คำถามอัตนัย, คำถามถูกผิด,เติมคำตอบด้วยตัวเลข, คำนวณ, คำถามจับคู่, คำอธิบาย, สร้างคำถามจับคู่จากอัตนัย เติมคำในช่องว่าง เป็นต้นและตัวช่วยในการเรียนเช่นอภิธานศัพท์,การสืบค้น ข้อมูล เป็นต้น
  • ระบบจัดการการสื่อสารคือเครื่องมือด้านการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบของ Moodle มีหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้สอนกับผู้สอนด้วยกันเอง เช่น Chat Room, Web-board สามารถใช้ได้ใน 3 ลักษณะ คือ
    • เพื่อประกาศข่าวสารในรายวิชา
    • เพื่อการอภิปรายในประเด็นต่างๆในรายวิชา
    • เพื่อเป็นเครื่องมือในการถามตอบปะเด็นหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ในรายวิชา

2. Microsoft  Teams

คุณสมบัติของ Microsoft Teams

  • สามารถสร้าง Team เป็น e-classroom เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน
  • สามารถแจกเอกสารประกอบการประกอบการเรียนการสอนได้
  • สามารถมอบหมายงาน (Assignment) ให้กับนักศึกษาผ่าน e-Classroom และตรวจให้คะแนนได้
  • สามารถสร้างคำถาม (Quiz) และตรวจให้คะแนนแบบอัตโนมัติได้
  • ผู้สอนสามารถบันทึกวิดีการเรียนการสอน และดาวน์โหลดวิดีโอได้ ซึ่งไฟลจะถูกจัดเก็บไว้ใน Microsoft OneDrive
  • สามารถ Chat หรือโต้ตอบระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผ่าน e-classroom ได้
  • สามารถแชร์หรือแลกเปลี่ยนไฟล์ภายใน e-classroom ได้
  • สามารถทำ Video Conference ได้สูงสุด 250 คน
  • ในระหว่างการเรียนการสอน อาจารย์สามารถปิดเสียงของนักศึกษาภายในห้อง e-classroom ได้
  • สามารถถ่ายทอดสด และแชร์หน้าจอของผู้สอน เช่น Power Point ให้นักศึกษาที่อยู่ภายในห้อง e-classroom ได้
  • สามารถทำ Live Event ถ่ายทอดสดแบบทางเดียวที่รองรับได้ถึง 10,000 คน
  • สามารถใช้งานได้ผ่าน Web และติดตั้ง Application บนสมาร์ทโฟน
  • สามารถใช้ MS Planner, MS Office, MS OneNote, และ MS Whiteboard ร่วมกันใน Microsoft Team ได้

3. Google Classroom

  • เข้าใช้ที่ https://classroom.google.com
  • คู่มือการใช้งานสำหรับอาจารย์
  • คู่มือการใช้งานสำหรับนักศึกษา

คุณสมบัติของ Google Classroom

  • สามารถสร้างห้อง (E-classroom) สำหรับจัดการเรียนการสอนได้
  • สามารถแจกเอกสารประกอบการเรียนการสอนได้
  • สามารถมอบหมายงาน (Assignment) และตรวจให้คะแนนได้
  • สามารถสร้างคำถาม (Quiz) และตรวจให้คะแนนอัตโนมัติได้

สอบถามการใช้งานและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่